[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
หลักการ
        1. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างของบุคคล และชุมชน
         2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
         3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญ สามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
        4. ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
 

จุดหมาย
       1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่าง สันติสุข 
       2. มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิต และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
       3. มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพ ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและตามทันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง 
      4. มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิตชุมชน สังคม ได้อย่างมีความสุขตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
      5. มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 
      6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      7. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และบูรณาการความรู้มาใช้ ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ


กลุ่มเป้าหมาย
ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน

โครงสร้าง
       1. ระดับการศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย
       2. สาระการเรียนรู้
            2.1 สาระทักษะการเรียนรู้
            2.2 สาระความรู้พื้นฐาน
            2.3 สาระการประกอบอาชีพ
           2.4 สาระทักษะการดำเนินชีวิต
           2.5 สาระการพัฒนาสังคม
    3. กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียน พัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม
    4. มาตรฐานการเรียนรู้
        4.1 มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
        4.2 มาตรฐานการเรียนรู้ระดับ
    5. เวลาเรียน ในแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน ยกเว้น ในกรณีที่มีการเทียบโอนผลการเรียน ทั้งนี้ ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน
    6. หน่วยกิต ใช้เวลาเรียน 40 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต


โครงสร้างหลักสูตร
สาระการเรียนรู้ จำนวนหน่วยกิต 
วิชาบังคับ
     1. ทักษะการเรียนรู้
     2. ความรู้พื้นฐาน
     3. การประกอบอาชีพ
     4. ทักษะการดำเนินชีวิต
     5. การพัฒนาสังคม
วิชาเวิชาเลือก
      ประถมศึกษา                     วิชาบังคับ  36  หน่วยกิต        วิชาเลือก     12  หน่วยกิต     รวม  48   หน่วยกิต  
      มัธยมศึกษาตอนต้น           วิชาบังคับ  40  หน่วยกิต        วิชาเลือก     16  หน่วยกิต     รวม  56   หน่วยกิต  
     
มัธยมศึกษาตอนปลาย      วิชาบังคับ 44  หน่วยกิต         วิชาเลือก     32  หน่วยกิต      รวม 76   หน่วยกิต
      กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 100 ชั่วโมง


การวัดและประเมินผล   กรอบการวัดและประเมินผล
 การวัดและประเมินผลการเรียน
 การประเมินคุณธรรม
 การประเมินกิจกรรม กพช.
 การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ


การจบหลักสูตร
ผู้จบการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในแต่ละระดับต้องผ่านเกณฑ์การจบหลักสูตร
ดังนี้
1. ผ่านการประเมิน และได้รับการตัดสินผลการเรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษา กำหนดทั้ง 5 สาระการเรียนรู้และได้ตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดในโครงสร้าง หลักสูตร
2. ผ่านกระบวนการประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง
3. ผ่านกระบวนการประเมินคุณธรรม จริยธรรม
4. เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ (National Test)


 หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  2544

       การจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ เป็นการจัดเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมให้ประชาชนที่พลาดโอกาสทางการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อนำความรู้ไปปรับปรุงคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น หรือเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป
การจัดการศึกษาพื้นฐาน  
ผู้เรียนต้องเรียน
กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน  4  หมวดวิชา
  ประกอบด้วย 
         หมวดวิชาภาษาไทย
         หมวดวิชาคณิตศาสตร์
         หมวดวิชาวิทยาศาสตร์
         หมวดวิชาภาษาต่างประเทศ
กลุ่มวิชาประสบการณ์  
4  หมวดวิชา
  ประกอบด้วย
        
พัฒนาทักษะชีวิต  2
        พัฒนาอาชีพ
  

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1. สัญชาติไทย หรือคุณบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐาน วัน เดือน ปีเกิด ในการรับสมัครนักเรียน
ศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ. 2535

2. เป็นผู้พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ระดับประถมศึกษาไม่จำกัดพื้นฐานความรู้ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ต้องจบได้
วุฒิประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ต้องสอบได้วุฒิมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า

วิธีการเรียนรู้

           ผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลักตามแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ตกลงร่วมกับครู กศน. มาพบกลุ่มตามที่กำหนดไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง อาจจัดให้มีการสอนเสริมในรายวิชาที่ยากรวมทั้งเรียนรู้จากโครงงานและทำกิจกรรมกลุ่ม นอกจากนี้ อาจเรียนด้วยวิธีการศึกษาทางไกลได้อีกด้ว

การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

         1. การวัดและประเมินผลหมวดวิชา 
         2. การประเมินกิจกรรมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 
        3. การประเมินคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ 
       4. การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

การเทียบโอนผลการเรียน
     ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้จาก การศึกษา การเรียนรู้ หรือจากการทำงาน และจากประสบการณ์ชีวิตและจากการประกอบอาชีพ มาเทียบโอน เป็นการเรียนตามหลักสูตรได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด

เวลาเรียน
ใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่เทียบโอนผลการเรียนสามารถจบหลักสูตรก่อนได้

การลงทะเบียน
ทุกระดับการศึกษา ลงทะเบียนภาคเรียนละไม่เกิน 2 หมวดวิชายกเว้นหมวดวิชาที่มีการเทียบโอนลงทะเบียนเรียนหมวดวิชาเพิ่มเติมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน
       
พัฒนาทักะชีวิต  1
       

เปิด ปิดภาคเรียน

          ภาคเรียนที่ 1       เปิดภาคเรียน    16   พฤษภาคม

                                

          ภาคเรียนที่  2      เปิดภาคเรียน       1    พฤศจิกายน

                                

 ค่าใช้จ่าย  ไม่ต้องเสียค่าสมัครลงทะเบียนเรียน   ฯลฯ







 

 

 

 

 





 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสูงเนิน  จังหวัดนครราชสีมา 
ตำบลสูงเนิน  อำเภอสูงเนิน  จังหวัดนครราชสีมา  โทรศัพท์ /โทรสาร  0-4441-9044 
Sung_noen@korat.nfe.go.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.01