[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

   

 

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  2551

สู่หลักสูตรสถานศึกษา

 

                หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 จัดทำขึ้นเพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษา  หน่วยงานระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาทุกสังกัดที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้นำไปใช้เป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กระทรวงศึกษาธิการ 2551 : 3)

                ปัญหาของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  ในเรื่อง  ปัญหาความสับสนของผู้ปฏิบัติระดับสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  สถานศึกษาส่วนใหญ่กำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้มาก  ทำให้เกิดปัญหาหลักสูตรแน่น  การวัดและประเมินผลไม่สะท้อนมาตรฐาน  ส่งผลต่อปัญหาการจัดทำเอกสารหลักฐานทางการศึกษา  และ  การเทียบโอนผลการเรียน  รวมทั้งปัญหาคุณภาพของผู้เรียนในด้านความรู้  ทักษะ  ความสามารถและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ (กระทรวงศึกษาธิการ 2551 : 1)  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551  นอกเหนือจากการกำหนดวิสัยทัศน์  หลักการ  จุดหมาย  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  มาตรฐานการเรียนรู้แล้วยังได้ให้รายละเอียดในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้  ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้  มีคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์  ที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน  เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน  นอกจากนั้น  มาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ  เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร  ต้องสอนอะไร  จะสอนอย่างไร  และประเมินอย่างไร  รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา  รวมถึงการกำหนดตัวชี้วัดระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้  รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น  ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้  มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม  นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา  จัดทำหน่วยการเรียนรู้  จัดการเรียนการสอน  และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดและประเมินผล  เพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน

-                   ตัวชี้วัดชั้นปีเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ป.1- ม.3)

-                   ตัวชี้วัดช่วงชั้นเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย            (ม.4 ม.6)

จากรายละเอียดต่าง ๆ ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานดังที่กล่าวมา  สถานศึกษาสามารถนำเป็นแนวทางในการจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษาที่สนองตอบต่อหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  และเพิ่มเติมในส่วนที่เป็นความต้องการของท้องถิ่นโดยมีองค์ประกอบดังนี้

1. ส่วนนำ (วิสัยทัศน์  พันธกิจ  จุดหมาย  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน)

2. การจัดทำโครงสร้างหลักสูตร  (รายวิชาพื้นฐาน  รายวิชาเพิ่มเติม  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  เวลาเรียน

    ระดับประถมศึกษา                        (ป.1 ป.6)  (รายปี)

    ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น            (ม.1 ม.3)   (รายภาค)

    ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย        (ม.4 ม.6)   (รายภาค)

โครงสร้างหลักสูตรเป็นการนำเสนอโครงสร้างหลักสูตรของโรงเรียนในแต่ละระดับชั้น  สนองตอบต่อหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  และความเป็นท้องถิ่นทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษา  และระดับสถานศึกษาที่สะท้อนการบริหารจัดการหลักสูตร              เวลาเรียนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเพิ่มเติม  หรือ การจัดรายวิชาเพิ่มเติมตามความต้องการของโรงเรียน

3. การจัดทำคำอธิบายรายวิชา  (รหัสวิชา  ชื่อรายวิชา  กลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับชั้น            เวลาเรียน  รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา

    3.1  ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้

    3.2  ศึกษาตัวชี้วัดชั้นปี  (ป.1 ม.3)

    3.3  ศึกษาตัวชี้วัดช่วงชั้น  (ม.4 ม.6)

    3.4  ศึกษาสาระการเรียนรู้แกนกลาง

    3.5 ศึกษากรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเพิ่มเติมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม  เขต  2  และโรงเรียน

   3.6  ศึกษาการลงรหัสรายวิชาทั้งพื้นฐาน  และเพิ่มเติม

ประมวลจัดทำคำอธิบายรายวิชา  แยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้  อันประกอบไปด้วย  ส่วนของสาระการเรียนรู้  กระบวนการจัดการเรียนรู้และคุณลักษณะที่เกิด  (คุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตร)

4. เกณฑ์การจบหลักสูตร

5. การจัดทำหน่วยการเรียนรู้

    5.1 โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

    5.2  มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด

    5.3  สาระการเรียนรู้

ดำเนินการจัดหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ครอบคลุมหลักสูตรแกนกลางและสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเพิ่มเติม

6. การออกแบบการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐาน

    6.1  ตัวชี้วัด

    6.2  สาระการเรียนรู้ทั้งแกนกลางและท้องถิ่น

    6.3  ชิ้นงาน / ภาระงาน

    6.4  เกณฑ์การประเมิน

    6.5  ชื่อหน่วยการเรียนรู้

    6.6  เวลาเรียน

ดำเนินการออกแบบการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐานการเรียนรู้ (แผนการจัดการเรียนรู้)  ประกอบไปด้วย  มาตรฐานการเรียนรู้  ตัวชี้วัด  สาระสำคัญ  สาระการเรียนรู้ (ความรู้  ทักษะ/กระบวนการ  คุณลักษณะอันพึงประสงค์)  ชิ้นงาน/ภาระงาน  เกณฑ์การประเมินชิ้นงาน  กิจกรรมการเรียนรู้ (นำเข้าสู่บทเรียน  ช่วยพัฒนาผู้เรียน  รวบยอด  สื่อการเรียนรู้  การวัดและประเมินผล  บันทึกผลหลังสอน)

7. คู่มือการวัดและประเมินผลระดับสถานศึกษา

    7.1  การประเมินในระดับชั้นเรียน  ประเมินความก้าวหน้าโดยใช้วิธีการอย่างหลากหลาย

    7.2  การประเมินในระดับสถานศึกษา  ตัดสินผลการเรียนรู้รายปี / รายภาค  การอ่าน   คิดวิเคราะห์และเขียนตลอดจนคุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

การดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  ซึ่งโรงเรียนนำร่องและพร้อมใช้ใช้ในปีการศึกษา  2552  โรงเรียนทั่วไปใช้ใน             ปีการศึกษา 2553  จะเห็นได้ว่า  เป็นการทบทวนหลักสูตรสถานศึกษาเดิม  โดยจัดทำโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา  จัดทำคำอธิบายรายวิชา  โดยประมวลจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษา            ขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น  และสถานศึกษาพิจารณาเพิ่มเติม           ในส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน / ท้องถิ่นที่ต้องการพัฒนาเป็นพิเศษ





 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสีคิ้ว  
ถนนชุมค้า ตำบลสีคิ้ว  อำเภอสีคิ้ว  จังหวัดนครราชสีมาโทรศัพท์ 0-44 412-881
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.01