[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

  ข้อมูลสารสนเทศ

 

คำขวัญของสถานศึกษา

“ทัศนคติชัดเจน   เคร่งวินัย  ใจบริการ  เน้นเศรษฐกิจพอเพียง”

 

ปรัชญา

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอประทาย  เป็นสถานศึกษาหลักในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต  ชุมชนได้รับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  การศึกษาต่อเนื่อง และเกิดสังคมอุดมปัญญาที่ยั่งยืน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

วิสัยทัศน์

“ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอประทาย จัดและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียน ผู้รับบริการ ให้คิดเป็น ทำเป็นแก้ปัญหาเป็น ตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ด้วยหลักธรรมาภิบาล”

 

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา

มีคุณธรรม  เน้นเศรษฐกิจพอเพียง

 

พันธกิจ

. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพและบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึงและหลากหลาย

. จัดและส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องเพื่อการมีงานทำ เพื่อพัฒนาศักยภาพของประชาชนและชุมชนให้สามารถสร้างรายได้ สร้างสรรค์ และแข่งขันด้านอาชีพได้อย่างยั่งยืน ตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาต่อเนื่องเพื่อการมีงานทำด้วยหลักธรรมาภิบาล

. พัฒนา ส่งเสริมการนำ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ

. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

. พัฒนาการเรียนรู้ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้มีคุณธรรม นำความรู้ มีทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

 

      วัตถุประสงค์

          ๑.  เพื่อให้ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอประทาย  จัดการศึกษาที่ หลากหลายและทั่วถึง  ตรงตามความต้องการของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

          ๒.  เพื่อพัฒนา  ห้องสมุด  ศูนย์การเรียนชุมชน  แหล่งเรียนรู้  ภูมิปัญญาท้องถิ่นถิ่น  ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

 

เป้าประสงค์

. ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง หลากหลายทุกที่ ทุกเวลา และเป็นธรรม

. ประชาชนมีศักยภาพในการประกอบอาชีพ สามารถประกอบอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน

. ชุมชนมีฐานอาชีพที่หลากหลาย สามารถยกระดับอาชีพเพื่อการมีงานทำ นำไปสู่การ สร้างรายได้ที่ยั่งยืน

. องค์กรร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตาม      หลักธรรมาภิบาล

. สถานศึกษาพัฒนา ส่งเสริม เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

. บุคลากรของสถานศึกษาได้รับการพัฒนา เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

. สถานศึกษามีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีคุณธรรม นำความรู้ มีทักษะการดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของประชาชน

ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การเพิ่มศักยภาพการจัดการความรู้ของชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่ ๓การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขององค์กรและเครือข่าย

 

กลยุทธ์

กลยุทธ์ที่ ๑ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างเสมอภาค หลากหลาย และทั่วถึง

กลยุทธ์ที่ ๒ ปรับวิธีเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

กลยุทธ์ที่ ๓ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ เทคโนโลยีและภูมิปัญญา

กลยุทธ์ที่ ๔ ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมจัดและส่งเสริมการศึกษา

กลยุทธ์ที่ ๕ เพิ่มประสิทธิภาพการบริการ

เป้าประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จ

 

เป้าประสงค์

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

- ร้อยละประชากรกลุ่มต่างๆได้รับบริการการศึกษาอย่างทั่วถึงครอบคลุมและเป็นธรรม

-  ร้อยละของประชากรที่เข้ารับการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีศักยภาพในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้น

- ร้อยละของ ชุมชนแห่งการเรียนรู้มีการยกระดับอาชีพเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของสถานศึกษา

- ร้อยละขององค์กรภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพิ่มมากขึ้น

- ร้อยละของสถานศึกษาได้รับความร่วมมือจากองค์กรภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามหลักธรรมาภิบาลเพิ่มขึ้น

- ร้อยละของสถานศึกษานำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารองค์กรและจัดบริการการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น

- ร้อยละผู้รับบริการที่ใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษามีความพึงพอใจ

- ร้อยละของบุคลากรในสถานศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มสรรถนะในการปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัยอย่างน้อย 20 ชม./ปี

- ร้อยละของสถานศึกษาที่มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง และสามารถนำไปพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- ร้อยละ ผู้เรียน/ผู้รับบริการ เข้าร่วมกิจกรรมของสถานศึกษามีทักษะในการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

- ร้อยละผู้เรียน/ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ

 

 





 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอประทาย  จังหวัดนครราชสีมา 
หมู่ที่  13 ตำบลประทาย  อำเภอประทาย  จังหวัดนครราชสีมาโทรศัพท์ 0-4448-9185
โทรสาร  0-4448-9185  prathai@korat.nfe.go.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.01