
ที่อยู่
นายสาม พาขุนทด เกิด 30 มกราคม 2502
อยู่บ้านเลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ตำบลหนองไม้ไผ่
อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา 30410
การฝึกอบรม
1.อบรมหลักสูตรส่งเสริมพัฒนาเครือข่ายเกษตรหมู่บ้าน ในโครงการฝึกอบรมส่งเสริมพัฒนาเครือข่ายเกษตรหมู่บ้าน ระหว่างวันที่ 1-2 สิงหาคม 2553
จัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมาและกรมส่งเสริมการเกษตร ความรู้ที่ได้ ได้ความรู้เกี่ยวกับ
การพัฒนาเครือข่ายเกษตรหมู่บ้าน ให้มีความก้าวหน้าและยั่งยืน
2. การอบรมหลักสูตรเกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ระหว่างวันที่ 9-11 สิงหาคม 2554 จัดโดย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สำนักงาน ธกส จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์เรียนรู้ครูเกษตร (สวนลุงโชค)ความรู้ที่ได้รับ ได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับชีวิตตนเอง
การศึกษาดูงาน
1.ชุมชนต้นแบบบ้านหนองพะยอม ตำบลลุงเขว้า อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา ดูงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
2.ศูนย์เรียนรู้ ธ.ก.ส บ้านสระพระ อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ดูงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
3.หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกลอย ตำบลแหลมทอง อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
4.ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง พ่อจันทร์ที ประทุมภา อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา
5.ศูนย์กสิกรรมขยะรีไซเคิล วงษ์วานิช ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
6.สหกรณ์การเกษตรอำเภอหนองบุญมาก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
ลงทุนติดตั้งระบบน้ำหยดเพียงไร่ละ 4,000 กว่าบาท
ผลผลิตเกินคุ้ม
ขั้นแรกก็ต้องทำการเตรียมดินก่อน โดยการรองพื้นด้วยขี้ไก่แกลบ 30-40 กระสอบ/ไร่ ประมาณ 400 กก./ไร่ พร้อมทำการหว่านปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 จำนวน 25 กก./ไร่ จากนั้นทำการไถกลบด้วยผาล 3 และไถแปรด้วยผาล 7 เสร็จแล้วทำการวางระบบน้ำหยด โดยวางสายน้ำหยด ระยะ 150 x 40 ซม.
สำหรับการวางระบบน้ำหยดนั้นจะประกอบด้วยอุปกรณ์หลายอย่าง นั่นก็คือ สายน้ำหยด, ท่อพีวีซี, หัวปลาไหล, วาล์วเปิด-ปิด, ปั๊มน้ำ และเครื่องคูโบต้า ซึ่งต้นทุนเกี่ยวกับการวางระบบน้ำหยดก็จะตกอยู่ที่ประมาณ 4,000 บาท/ไร่ แต่ก็ถือว่าคุ้มเพราะว่าผลผลิตที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เพิ่มขึ้นแค่ กิโล หรือ 2 กิโล แต่เพิ่มขึ้นเป็นตันๆ และอายุการใช้งานของระบบน้ำหยดก็นานพอสมควร ประมาณ 3-5 ปีถึงจะเปลี่ยนสายใหม่ แต่ถ้าเป็นทุนรวมทั้งหมดต่อไร่ ถ้าคิดทั้งค่าปุ๋ย ยา ฮอร์โมน และอื่นๆ รวมเบ็ดเสร็จแล้วก็ประมาณ 6,500 บาท/ไร่
สำหรับการเตรียมท่อนพันธุ์นั้น คุณสมศักดิ์แนะนำว่า ควรเลือกท่อนพันธุ์ที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 8-12 เดือน โดยจะต้องเลือกท่อนพันธุ์ที่มีความสดและใหม่ ปราศจากโรคและแมลง ถ้าจะให้ดีก่อนปลูกควรตัดส่วนหัวและโคนทิ้งประมาณ 10-20 ซม. เหลือไว้เฉพาะช่วงกลางท่อน เพราะช่วงกลางท่อนเป็นช่วงที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด จากนั้นก็นำมาตัดเป็นท่อนๆ ละ 25 ซม. แล้วจึงนำไปปลูกลงแปลง
ให้ปุ๋ยไปพร้อมกับระบบน้ำหยด
ประหยัดปุ๋ย ลดต้นทุนลงไปกว่าครึ่ง
นำท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้มาปักตั้งตรงลึกไม่เกิน 5 ซม. ได้จำนวนต้นมันสำปะหลัง 1,600 กว่าต้น/ไร่ ปลูกเสร็จทำการรดน้ำตามทันที โดยช่วงแรกนี้จะรดทุกๆ 2-3 วัน และในแต่ละครั้งจะรดนาน 2-3 ชั่วโมง และเมื่อต้นมันสำปะหลังตั้งตัวได้แล้วก็จะให้น้ำทุกๆ 7 วัน
ส่วนการใส่ปุ๋ยก็จะเน้นการให้ปุ๋ยทางน้ำเสริมในช่วงที่มันสำปะหลังอายุ 1-3 เดือนแรกหลังปลูก โดยใช้สูตร 25-5-5 ผสมกับน้ำปล่อยไปตามระบบน้ำหยดเดือนละครั้ง โดยพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ปุ๋ย 1 กก.ต่อน้ำ 8 ลิตร เพื่อเป็นการช่วยบำรุงต้นและใบ จากนั้นพอมันสำปะหลังอายุ 4-5 เดือนก็จะให้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 อีกครั้ง ปริมาณ 25 กก./ไร่ และเมื่อมันสำปะหลังอายุ 6-7 เดือน เปลี่ยนมาให้สูตร 12-4-40 เพื่อบำรุงหัวและเร่งแป้ง แต่ก่อนนั้นคุณสมศักดิ์จะให้ปุ๋ยมันโดยการหว่านบริเวณโคนต้น แต่ปัจจุบันได้ให้ปุ๋ยไปทางระบบน้ำหยด ซึ่งก็ลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยลงไปได้มากทีเดียว เมื่อก่อนที่ให้โดยการหว่านที่โคนต้นจะให้ในอัตรา 225 กก./พื้นที่ 5 ไร่ แต่ปัจจุบันที่ให้ตามระบบน้ำหยดก็ลดลงเหลือ 100-125 กก./พื้นที่ 5 ไร่
การเก็บเกี่ยว
โดยปกติมันสำปะหลังทั่วๆ ไป จะสามารถปลูกได้นานปีกว่า ถึง 2 ปี จึงค่อยเก็บเกี่ยวผลผลิต ถ้าสามารถปลูกได้นาน ไม่เก็บเกี่ยวเร็ว ผลผลิตที่ได้ก็จะมีน้ำหนักมากขึ้น และเปอร์เซ็นต์แป้งก็จะเพิ่มขึ้นตามอายุของมันสำปะหลัง โดยเลือกที่จะเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังช่วงอายุ 10-11 เดือน ทั้งนี้ก็เพราะต้องเอาเงินมาใช้จ่ายภายในครอบครัว ซึ่งก็จะได้ผลผลิตสูงถึง 7-9 ตัน/ไร่ จากที่เมื่อก่อนตอนที่ยังไม่ได้ใช้ระบบน้ำหยดนั้นผลผลิตเพียง 5-6 ตัน/ไร่ เท่านั้น แต่ถ้ายังไม่เก็บเกี่ยวในช่วงนี้ ทิ้งระยะการเก็บเกี่ยวออกไปอีกหน่อย ผลผลิตอาจเพิ่มขึ้นเป็น 10-12 ตันเศษ ถ้าเก็บเกี่ยวตอนเดือนที่ 10-12เปรียบเทียบต้นทุนและผลิตผลผลิตแบบน้ำหยดกับแบบธรรมชาติ แบบน้ำหยด ต้นทุนต่อไร่ 25,686 บาท ผลผลิตต่อไร่ 7-9 ตัน รายได้ต่อไร่ 64,000 บาท หักต้นทุนแล้วเหลือกำไรต่อไร่ 38,314 บาทแบบไม่ติดระบบน้ำ ต้นทุนต่อไร่ 16,677 บาท ผลผลิตต่อไร่ 5-6 ตัน รายได้ต่อไร่ 25,000 บาท หักต้นทุนแล้วเหลือกำไรต่อไร่ 8,323 บาท
เข้าชม : 1160
|