[x] ปิดหน้าต่างนี้
 


        
 

การทักษะอาชีพ

สาระสำคัญ

การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคล และกลุ่มบุคคล ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในชีวิตที่แตกต่างกัน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1 การเรียนรู้อาชีพแบบองค์รวมที่ประชาชน ครู กศน. และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน
2 การออกแบบการเรียนรู้งานอาชีพตามลักษณะของการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ในรูปแบบการฝึกทักษะอาชีพ การเข้าสู่อาชีพ การพัฒนาอาชีพ และการพัฒนาอาชีพด้วยเทคโนโลยี 3 การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงที่บูรณาการกับวิถีชีวิต โดยใช้วงจรกระบวนการคิด ทำ จำ แก้ปัญหาและ พัฒนา
4 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่พัฒนาศักยภาพของบุคคลและชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพ สร้างเครือข่ายอาชีพ มีระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้และประสบการณ์การทำอาชีพ ภายใต้วัฒนธรรมของชุมชน มีกลยุทธ์เพื่อการแข่งขันของชุมชน เป็นชุมชนที่ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการและพัฒนาอาชีพ

แนวทางและมาตรการ
1 การพัฒนาทักษะอาชีพ: สำรวจความต้องการของผู้เรียนและฝึกทักษะอาชีพในลักษณะหลักสูตรระยะสั้นที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเพื่อให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในอาชีพ โดยจัดฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น มีชั่วโมงการฝึกอบรมประมาณ 50 ชั่วโมง ประชาชนผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเรียนในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ได้ตามความต้องการของผู้เรียน เสียค่าใช้จ่ายเพียงชั่วโมงละ 1 บาท เป็นค่าวัสดุฝึกในการอบรม การจัดการอบรมสามารถจัดได้ทุกสถานที่ที่มีความพร้อม
2 การฝึกอบรมเพื่อเข้าสู่อาชีพ: จัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการฝึกทักษะอาชีพหรือจัดเป็นกิจกรรมเฉพาะเพื่อพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่อาชีพ โดยจัดให้มีกระบวนการแนะแนวอาชีพที่มีประสิทธิภาพ
3 การพัฒนาอาชีพ: พัฒนาอาชีพของกลุ่มเป้าหมายในลักษณะกลุ่มพัฒนาอาชีพ โดยจัดให้มีการรวมกลุ่มของผู้มีอาชีพประเภทเดียวกันเพื่อร่วมเป็นเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสวงหาความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาอาชีพของกลุ่มโดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
4 การพัฒนาอาชีพด้วยเทคโนโลยี: พัฒนาอาชีพของกลุ่มเป้าหมายด้วยเทคโนโลยี โดยเน้นการจัดกิจกรรมให้กับกลุ่มเป้าหมายสถานประกอบการและผู้ที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนากิจการและศักยภาพของตนเองเช่น การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการพาณิชย์ (E-Commerce) การจัดสร้างระบบฐานข้อมูลหรือการนำเสนองานด้วยคอมพิวเตอร์





 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองบุญมาก  จังหวัดนครราชสีมา
ถนนโชคชัย-เดชอุดม ตำบลแหลมทอง อำเภอหนองบุญมาก  จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ 0-4433-0173  โทรสาร  0-4449-0027  bunmak@korat.nfe.go.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.01