[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

  การศึกษาพื้นฐาน

      การจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ เป็นการจัดเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมให้ประชาชนที่
พลาดโอกาสทางการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อนำความรู้ไปปรับปรุงคุณภาพชีวิต
และความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น หรือเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป โดยกำหนดหลักสูตรการศึกษานอก
โรงเรียนสายสามัญ ไว้ดังนี้
     1. หลักสูตรการศึกษาเบ็ดเสร็จพื้นฐาน
     2. หลักสูตรการศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา
     3. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประถมศึกษา
     4. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
     5. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

1. หลักสูตรการศึกษาเบ็ดเสร็จพื้นฐาน 
     การศึกษาเบ็ดเสร็จพื้นฐานเป็นการจัดการเรียนการสอนให้
กับผู้ไม่รู้หนังสือ ผู้ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ หรือผู้ที่ยังไม่จบ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้สามารถอ่าน เขียนและคิดคำนวณ
รวมทั้งการแก้ปัญหา โดยใช้กระบวนการ “คิดเป็น” สามารถ
นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน แก้ไขความเชื่อและวิธีดำเนิน
ชีวิตอันเป็นอุปสรรคต่อการกินดีอยู่ดี เพื่อเป็นการช่วยยกระดับ
ความเป็นอยู่ของชาวชนบท ซึ่งมีหลักสูตรเฉพาะที่หลากหลาย
สำหรับกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ กลุ่มชน
ชาวเขาทางภาคเหนือเป็นต้น หลักสูตรเทียบเท่าระดับชั้นประ
ถมศึกษาปีที่ 4

2. หลักสูตรการศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา 
     หลักสูตรประถมศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา พุทธศักราช 2524 เป็นหลักสูตรที่มีรูปแบบเฉพาะ
สำหรับกลุ่มคนชาวเขาที่ไม่รู้หนังสือในแถบภาคเหนือ และตะวันตกของประเทศไทย โดยเป็นการ
จัดการศึกษาที่ยึดชุมชนเป็นหลัก มุ่งให้เกิดการพัฒนาแก่บุคคล และชุมชนในเขตภูเขา
กรมการศึกษานอกโรงเรียนตั้งใจที่จะขยายการให้บริการทางการศึกษาที่สนองตอบต่อความต้องการ
และปัญหาของชุมชนชาวเขาโดยเฉพาะ และส่งผลให้ชาวไทยภูเขาที่ไม่รู้หนังสือจำนวนมาก
สามารถอ่านออกเขียนได้ หลักสูตรนี้เทียบเท่าระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

3. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประถมศึกษา พุทธศักราช 2531 
     เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐาน และให้คงสภาพการอ่านออกเขียนได้
คิดคำนวณได้และดำรงตนเป็นพลเมืองดีในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุข โดยมีการจัดหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประถมศึกษาดังนี้

ระดับประถมศึกษา (ป.6)
     1. กลุ่มสภาพประสบการณ์พื้นฐาน (บังคับ) 190 สภาพ
     2. กลุ่มสภาพประสบการณ์เสริม เลือกไม่น้อยกว่า 60 สภาพ
         รวม 2 กลุ่มสภาพประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 250 สภาพ 
     ผู้ที่จบหลักสูตรต้องผ่านสภาพประสบการณ์พื้นฐาน (บังคับ) 190 สภาพ และกลุ่มสภาพประสบการณ์ (เลือก) ไม่น้อยกว่า
60 สภาพ การผ่านกลุ่มสภาพประสบการณ์ต่าง ๆ อาจผ่านได้โดยการเทียบโอนผลการเรียนหรือผ่านข้อทดสอบตาม
เกณฑ์ที่กำหนด ผู้เรียนจะต้องผ่านกลุ่มสภาพประสบการณ์รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 250 สภาพ และใช้เวลาเรียนไม่น้อย
กว่า 500 ชั่วโมง ยกเว้นกรณีมีการเทียบโอนผลการเรียนก็สามารถจบได้ก่อนกำหนด

4. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2530 
     เป็นหลักสูตรต่อเนื่องจากหลัสูตจรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประถมศึกษา การศึกษาระดับ
นี้มุ่งที่จะส่งเสริมให้ผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้แต่พลาดโอกาสที่จะศึกษาต่อในระบบโรงเรียนได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้
ฝึกทักษะและปลูกฝังเจตคติที่จำเป็นในการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพได้เท่าเทียมกับผู้อื่น
สามารถปฏิบัติตนให้ดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามสมควรแก่อัตภาพ หลักสูตรนี้มีความสอดคล้องกับหลักสูตร
ระดับเดียวกับในระบบโรงเรียนและมีความยืดหยุ่นพอเพียงที่จะให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความสามารถ ความถนัด
ความสนใจ และความต้องการของตน โดยมีการจัดหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ดังนี้

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
   1. หมวดวิชาบังคับ 4 หมวดวิชา
      1. ภาษาไทย
      2. คณิตศาสตร์
      3. ส่งเสริมคุณภาพชีวิต
      4. โลกของงานอาชีพ
   2. หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 4 หมวด
      - หมวดวิชาที่กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตร
   3. รวมไม่น้อยกว่า 8 หมวด
     การจบหลักสูตรนักศึกษาต้องผ่านหมวดวิชาบังคับ 4 หมวดวิชา และหมวดวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 3 หมวดวิชา
และต้องผ่านกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ตามที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนกำหนด

5. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2530 
    เป็นการจัดการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยสามารถเลือกแผน
การเรียนและสายวิชาที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายในการเรียนของตน ดังนี้ 
   1. แผน ก. แผนการเรียนเพื่อการศึกษาต่อ เปิดสอน 4 สายวิชา คือ
      1.1 สายคณิต-วิทย์ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในกลุ่มสาขาวิชาเกี่ยวกับการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์
เกษตรศาสตร์ ฯลฯ
      1.2 สายศิลป์-คำนวณ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์
พาณิชยศาสตร์
      1.3 สายศิลป-ภาษา สำหรับผู้ต้องการจะศึกษาต่อในกลุ่มวิชาอักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์
      1.4 สายทั่วไป สำหรับผู้ต้องการที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาอื่น ๆ
   2. แผน ข. แผนการเรียนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เปิดเฉพาะสายวิชาพัฒนาคุณภาพชีวิต
   3. แผน ค. แผนการเรียนเพื่อการประกอบอาชีพ 
      โดยมีการจัดหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ดังนี้

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
   1. หมวดวิชาบังคับ 5 หมวดวิชา
      1. ภาษาไทย 1
      2. สังคมศึกษา 1
      3. วิทยาศาสตร์ 1 หรือ 2
      4. พลานามัย
      5. พื้นฐานวิชาชีพ
   2. หมวดวิชาเลือก 
      ไม่น้อยกว่า 3 หมวดวิชา
       - หมวดวิชาที่กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตร
   3. รวมไม่น้อยกว่า 8 หมวด
 
     การจบหลักสูตานักศึกษาต้องผ่านหมวดวิชาบังคับ 5 หมวดวิชา และหมวดวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 3 หมวดวิชา
และจะต้องผ่านกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนกำหนด

วิธีเรียน
     การดำเนินงานการจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญของหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับ
ประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้จัดการการเรียนการสอนออกเป็น 3 วิธี
ดังนี้
     1. วิธีเรียนแบบชั้นเรียน (ชร.) ผู้เรียนจะต้องเข้าเรียนในชั้นเรียนระหว่างเวลา 17.00 – 20.00 น.
     2. วิธีเรียนทางไกล (ทก.) ผู้เรียนสามารถศึกษาด้วยตนเองจากเอกสารรายวิชา รายการวิทยุ/โทรทัศน์
และพบกลุ่มสัปดาห์ล่ะ 1 ครั้ง
     3. วิธีเรียนแบบด้วยตนเอง (ตอ.) ผู้เรียนต้องศึกษาด้วยตนเองและเข้าร่วมกิจกรรมพบกลุ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน

(หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544)
   

 
ระดับประถมศึกษา

ผู้เรียนต้องเรียนกลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน 4 หมวดวิชา ประกอบด้วยหมวดวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร ์ และภาษาต่างประเทศ รวม 20 หน่วยกิต และกลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ 4 หมวดวิชา ประกอบด้วย หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน พัฒนาทักษะชีวิต 1 พัฒนาทักษะชีวิต 2 และพัฒนาอาชีพ รวม 28 หน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง
 
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้เรียนต้องเรียนกลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน 4 หมวดวิชา ประกอบด้วยหมวดวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร ์ และภาษาต่างประเทศ รวม 24 หน่วยกิต และกลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ 4 หมวดวิชา ประกอบด้วย หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน พัฒนาทักษะชีวิต 1 พัฒนาทักษะชีวิต 2 และพัฒนาอาชีพ รวม 32 หน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต และต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง
 
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้เรียนต้องเรียนกลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน 4 หมวดวิชา ประกอบด้วย
หมวดวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร ์ และภาษาต่างประเทศ 
รวม 28 หน่วยกิต และกลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ 4 หมวดวิชา ประกอบด้วย หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน พัฒนาทักษะชีวิต 1 พัฒนาทักษะชีวิต 2 และพัฒนาอาชีพ รวม 48 หน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต และต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง
ทั้งนี้สามารถลงทะเบียนเรียนหมวดวิชาเพิ่มเติมตามความต้องการ
ในกลุ่มวิชา พื้นฐานและกลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์
 
               
 

คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. สัญชาติไทย หรือคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐาน วัน เดือน ปีเกิด ในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ. 2535 
2. เป็นผู้พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ระดับประถมศึกษาไม่จำกัดพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ต้องสอบได้วุฒิประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ต้องสอบได้วุฒิมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า

วิธีการเรียนรู้
ผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลักตามแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ตกลงร่วมกับครู กศน. มาพบกลุ่มตามที่กำหนดไม่น้อยกว่าสัปดาห์ 3 ชั่วโมง อาจจะจัดให้มีการสอนเสริมในวิชาที่ยาก รวมทั้งเรียนรู้จากการทำโครงการและการทำกิจกรรมกลุ่ม นอกจากนี้ อาจเลือกเรียนด้วยวิธีทางไกลอีกด้วย

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1. การวัดและประเมินผลหมวดวิชา
2. การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
3. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
4. การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

การเทียบโอนผลการเรียน
ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษา การเรียนรู้ หรือจากการทำงาน และจากประสบการณ์ชีวิตและจากการประกอบอาชีพ มาเทียบโอนเป็นผลการเรียนตามหลักสูตรได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด

เวลาเรียน
ใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่เทียบโอนผลการเรียนสามารถจบหลักสูตรก่อนได้

การลงทะเบียน
ทุกระดับการศึกษา ลงทะเบียนภาคเรียนละไม่เกิน 2 หมวดวิชา ยกเว้นหมวดวิชาที่มีการเทียบโอนลงทะเบียนเรียนหมวดวิชาเพิ่มเติมระดับศึกษาตอนปลาย

เปิด - ปิดภาคเรียน
- ภาคเรียนที่ 1 เปิดภาคเรียน 16 พฤษภาคม และปิดภาคเรียน 11 ตุลาคม ของทุกปี
- ภาคเรียนที่ 2 เปิดภาคเรียน 1 พฤศจิกายน และปิดภาคเรียน 1 เมษายน ของทุกปี

ค่าใช้จ่าย 
- ไม่ต้องเสียค่าสมัครลงทะเบียนเรียน

โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

หลักการ

1.  เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้  เวลาเรียน  และการจัดการเรียนรู้  โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต  ความแตกต่างของบุคคล  และชุมชน  สังคม

2.  ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  และการศึกษาตามอัธยาศัย

3.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  โดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญ  สามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

4.  ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

จุดหมายของหลักสูตร

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551  มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรม  มีสติปัญญา  มีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีศักยภาพในการประกอบอาชีพและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  ซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการ  จึงกำหนดจุดหมาย  ดังต่อไปนี้

1.  มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข

2.  มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิต และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

3.  มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพ ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและตามทันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

4.  มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคม ได้อย่างมีความสุขตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5.  มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา

6.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7.  เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และบูรณาการความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

โครงสร้าง

เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามหลักการ จุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้ ที่กำหนดไว้

ให้สถานศึกษาและภาคีเครือข่ายมีแนวปฏิบัติในการจัดหลักสูตรสถานศึกษา จึงได้กำหนด

โครงสร้างของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  ไว้ดังนี้

1. ระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา  แบ่งออกเป็น 3 ระดับ   ดังนี้คือ

1.1     ระดับประถมศึกษา

1.2     ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

1.3     ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ตารางโครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

table ratsud

 





 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคง
ถนนเทศบาล 3 ตำบลเมืองคง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ 044-459023
โทรสาร  044-459023  E-mail : khong@korat.nfe.go.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.01