[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

  

ข้อมูลโดยสังเขปของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน
อำเภอโนนแดง
กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้พัฒนารูปแบบการประสานงานการศึกษานอกโรงเรียนขึ้นเพื่อเป็นกลไกลในการว่างแผน การประสานงานการดำเนินการการศึกษานอกโรงเรียน ในพื้นที่ ซึ่งถือว่าเป็นการกระจายอำนาจากรบริหารตามสาระรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอโนนแดงได้รับการประกาศจัดตั้งเป็น สถานศึกษา โดยประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2536 โดยมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริการ ประสานงาน ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล ติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียนในเขตพื้นที่อำเภอโนนแดง
ปีงบประมาณ 2538 ได้รับงบประมาณจากทางราชการ จัดสร้างห้องสมุดประชาชนอำเภอโนนแดง เพื่อให้บริการประชาชน ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา
สถานภาพ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอโนนแดง เป็นสถานศึกษาใน
ราชการส่วนกลาง สังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครราชสีมา
ผู้บริหารสถานศึกษาปัจจุบัน ชื่อนางสุมาลี  วัชระมโนกานต์

คำขวัญ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน
บ้านที่น่าอยู่ ครูที่น่ารัก ประชาชนรู้จัก รู้รักสามัคคี

ข้อมูลอำเภอโนนแดง

คำขวัญอำเภอโนนแดง

“ โนนแดงโอ่งใหญ่ สดใสเฟื่องฟ้า ผ้าขาวม้าพันเมตร
รสเด็ดข้าวหอม งามพร้อมบึงระหอก”
ประวัติความเป็นมา
อำเภอโนนแดง แต่เดิมเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2480 เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ตั้งขึ้นโดยเรียกชื่อตามชื่อของไม้แดง ซึ่งมีมากในขณะนั้น อยู่ในเขตการปกครองของตำบลโนนตาเถร อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาชุมชนโนนแดงได้ขยายใหญ่ขึ้นจึงได้จัดตั้งเป็นตำบลโนนแดง เมื่อ ปี พ.ศ. 2508 และเมื่อชุมชนมีความเจริญเติบโตเข้าหลักเกณฑ์ที่จะจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอโนนแดง เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2532 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอโนนแดง เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536

ที่ตั้ง พื้นที่และอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับ กิ่งอำเภอ สีดา จังหวัดนครราชสีมา
ทิศใต้ ติดกับ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอคงและกิ่งอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา

ลักษณะภูมิประเทศ
อำเภอโนนแดงมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีลักษณะลาดเทจากทิศเหนือลงทิศใต้ และทิศตะวันตกมาทิศตะวันออก มีลำน้ำที่สำคัญหลายสาย ได้แก่ ลำสะแทด ลำปลาหมัน ลำห้วยยาง และลำห้วยเจี้ยบ ระดับความสูงของพื้นที่แตกต่างกัน จากทิศเหนือลงทิศใต้ และจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ประมาณ 10 เมตร

ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของอำเภอโนนแดง ช่วงฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อากาศจะร้อนจัดและแห้งแล้งมากที่สุด ช่วงฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม โดยปกติฝนจะตกชุกในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ในบางปีฝนอาจทิ้งช่วง ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพดินฟ้าอากาศ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 1,283.8 มิลลิเมตรต่อปี และช่วงฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือน กุมภาพันธ์ ซึ่งอากาศค่อนข้างหนาวเย็น

การปกครองและประชากร
อำเภอโนนแดง แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 65 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งหมด
21,508 คน โดยแยกเป็น ชาย 10,608 คน หญิง 10,900 คน จำนวนครัวเรือน 4,461 ครัวเรือน
มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ 114.13 คน ต่อ ตารางกิโลเมตร การปกครองสามารถแยกลายละเอียด ได้ดังนี้
ลำดับที่ ตำบล จำนวน
หมู่บ้าน จำนวนประชากร จำนวน
ครัวเรือน
ชาย (คน) หญิง (คน) รวม (คน)
1 โนนแดง 17 2,187 2,280 4,467 866
2 วังหิน 13 2,246 2,249 4,495 988
3 โนนตาเถร 12 1,982 2,081 4,063 852
4 สำพะเนียง 12 2,446 2,560 5,006 1,027
5 ดอนยาวใหญ่ 11 1,747 1,730 3,447 728
รวม 65 10,608 10,900 21,508 4,461

ด้านเศรษฐกิจ
อำเภอโนนแดงมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 106,588 ไร่ ครอบครัวเกษตรกร 4,272 ครอบครัว พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าว มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้น 103,588 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 380 กิโลกรัมต่อไร่ มีครัวเรือนเกษตรเพาะปลูกข้าวจำนวน 4,234 ครัวเรือน จะเพาะปลูกข้าวได้ปีละ 1 ครั้ง และใช้น้ำฝนในการเพาะปลูก ส่วนพื้นที่ที่เหลือเกษตรกรจะปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือนตามฤดูกาล

ภาพรวมศักยภาพและโอกาส
อำเภอโนนแดง หากมองศักยภาพในภาพรวมพอที่จะสรุปศักยภาพและปัจจัยเกื้อหนุนต่อการพัฒนาอำเภอโนนแดงในอนาคตได้ ดังนี้
1. ด้านการคมนาคม อำเภอโนนแดงมีถนนสายสำคัญตัดผ่าน ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดิน หมาย
เลข 2 ( ถนนมิตรภาพ ) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 207 ( ถนนเจนจบทิศ ) ซึ่งถนนดัง
กล่าวเป็นทางผ่านในการเดินทางไปจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้สะดวกใน
การคมนาคมขนส่ง
2. ด้านการศึกษา อำเภอโนนแดง มีสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษาจำนวน 2 แห่ง สังกัดสำนักงานประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 20 แห่ง และ มี ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอจำนวน 1 แห่ง ซึ่งสามารถให้การศึกษาได้แก่เด็กนักเรียน ผู้พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษา ได้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ตำบล ในเขตพื้นที่
3. ด้านเศรษฐกิจ อำเภอโนนแดง เป็นแหล่งผลิตพืชทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ซึ่งในแต่ละปีถ้ามีน้ำอุดมสมบูรณ์ จะผลิตข้าวในปริมาณที่มากพอสมควรและมีคุณภาพ ด้านการเลี้ยงสัตว์มีการเลี้ยงกระบือ โคนม โคเนื้อ สุกร เป็ด ไก่ ซึ่งสามารถทำให้ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการจำหน่าย ด้านการพาณิชย์มีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ จำนวน 4 แห่ง มีร้านค้าและตลาดสด ซึ่งหากได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นก็จะสามารถรองรับสินค้าจากหมู่บ้าน ตำบล และให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง
4. ด้านทรัพยากร อำเภอโนนแดงมีบึงระหอก และอ่างเก็บน้ำดอนยาวน้อย ซึ่งหากได้รับการพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงาม น่าท่องเที่ยว และเป็นที่พักผ่อนของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอได้เป็นอย่างดี

วิสัยทัศน์ ( Vision )
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอโนนแดง จะเป็นองค์กรในการส่งเสริมและพัฒนาประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ให้เป็นบุคคลใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองตามความต้องการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1. จัดการศึกษาให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่อยู่นอกโรงเรียนตามความต้องการและความจำเป็น
2. พัฒนาการเรียนรู้ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้มีคุณธรรม ความรู้ และมีทักษะการดำรงชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตจากสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
เป้าหมาย
1. ประชาชนพื้นที่อำเภอโนนแดงมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2. ประชาชนอำเภอโนนแดงมีความรู้และทักษะการดำรงชีวิตบนพื้น ฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. ทุกภาคส่วนของอำเภอโนนแดงมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตลอด ชีวิต
4. ประชาชนอำเภอโนนแดงรับบริการการเรียนรู้ตลอดชีวิตจากสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา
กลยุทธ์ วิธีการ
1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและทั่วถึง
2. ปรับเปลี่ยนวิธีสอนให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
3. พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และภูมิปัญญา ให้เป็นฐานความรู้ของชุมชน
4. ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายจัดการศึกษา
5. เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
6. เพิ่มศักยภาพและบุคลากรทางการศึกษา
7. พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อการเรียนรู้ที่มีศักยภาพ 
บุคลากรศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอโนนแดง
1. นางสุมาลี  วัชรมโกนต์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอโนนแดง
2. นางวิลาสินี นาคพุ่ม พนักงานราชการ
3. นางสันติมาพร จันทวิลา พนักงานราชการ
4. นางวรรณศิริ ทับศรีแก้ว ครูศูนย์การเรียนชุมชน
5. นางธิดาวรรณ ผลบุญ ครูศูนย์การเรียนชุมชน
6. นายเชาวลิต ดาวเรือง ครูศูนย์การเรียนชุมชน
7. นายนราชิวาส อภัย ครูศูนย์การเรียนชุมชน
8. นายเสถียร สุรำนาจ ครูศูนย์การเรียนชุมชน
9. นายขจรเดช รัตนชัย ครูศูนย์การเรียนชุมชน






















 

ศูนย์การศึกษานอกบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโนนแดง
ถนนเจนจบทิศ ตำบลโนนแดง  อำเภอโนนแดง  จังหวัดนครราชสีมา
โทรศัพท์ 0-4475-019 โทรสาร  0-4447-5103 
kendolity@hotmail.com  nondaeng@korat.nfe.go.th

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.01